โพสต์แนะนำ

สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา เลข 7

ปริศนาเลข 7   สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา  เลข  7 สิ่งที่ ธรรมชาติสร้าง มาล้วนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เลข 7 ในหลากหลายความเชื่อ ในหลายๆศาส...

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บาป 7 ประการ

บาป 7 ประการ





บาป 7 ประการ (อังกฤษseven deadly sins) หรือบาปต้น (อังกฤษcardinal sins) เป็นหลักคำสอนของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคในอดีตกาล ให้มนุษย์ไม่ทำตามสัญชาตญาณของตนมากจนเกินไป ทางศาสนาคริสต์ได้แบ่งบาปออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่สามารถยกโทษให้ได้ และ แบบรุนแรง ในต้นศตวรรษที่ 14 หลักคำสอนนี้เป็นที่นิยมในหมู่ศิลปิน (หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน) ผลงานศิลปะมากมายที่สื่อถึงบาป 7 ประการแพร่ไปทั่ววัฒนธรรมต่างๆทั่วโลก



การคิดในทางเสื่อม ความต้องการเป็นที่สนใจจากผู้อื่น ความต้องการความเร้าใจ หมกมุ่นทางเพศที่มากจนเกินไป หรือที่ผิดมนุษย์ปกติ ความใคร่ที่เกิดขึ้นในทางทุจริต เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ กับพ่อแม่หรือลูกหลานตัวเอง การข่มขืน การมีชู้ แอสโมดิวส์ 'Asmodeus' ปีศาจที่หลงรักมนุษย์หญิงสาวคนอื่นและฆ่าชายที่จะแต่งงานกับนางทุกคน เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์แห่งราคะคืองู วัว สีประจำบาปนี้คือสีน้ำเงิน บทลงโทษผู้กระทำบาปข้อนี้คือ ถูกรมด้วยสารกำมะถันและไฟ และ ตัดอวัยวะเพศ

การสนองความต้องการโดยไม่ยั้งคิด มุ่งร้ายเอาของคนอื่น บริโภคสิ่งต่างๆจนขาดการการไตร่ตรอง บริโภคจนมากเกินไป มากจนเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาร รวมถึงการบริโภคสิ่งๆ ต่างๆ โดยไม่คำนึงสนใจ หรือเห็นใจคนอื่น ทำให้เวลาสรรเสริญพระเจ้าน้อยลง และยังเป็นบาปที่สามารถชักจูงให้ทำบาปอื่นๆ ได้ เช่น ปรารถนาในความหิว (ราคะ) ฆ่าเพราะความหิว (โทสะ) เป็นต้น เบลเซบับ 'Beelzebub' เทวดา6ปีก เซราฟิม เจ้าชายแห่งนรกหรือเจ้าแห่งหมู่ แมลงวันเคยอยู่บนสรวงสวรรค์มาก่อน แต่ด้วยอำนาจที่มากกลับต่อต้านพระเจ้า จึงถูกไล่ออกจากสรวงสวรรค์มาเป็นปีศาจแห่งขุมนรก ปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของตะกละคือหมู สีประจำบาปคือสีส้ม บทลงโทษของผู้ที่ตะกละในนรกคือการที่ถูกกินทั้งเป็นโดยหนู คางคก และงู ตะกละสามารถแบ่งออกเป็น
  • Praepropere - กินเร็วเกินไป
  • Laute - กินแพงเกินไป
  • Nimis - กินมากเกินไป
  • Ardenter - กินอย่างกระตือรือร้นเกินไป
  • Studiose - กินอย่างประณีตเกินไป
  • Forente - กินอย่างแรงกล้าเกินไป


ความทะเยอทะยานอันแรงกล้าในการให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงแนวทางหรือคุณธรรมในการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมย การขู่กรรโชกทรัพย์ ยักยอก การกักเก็บทรัพย์สินต่างๆ โดยไม่แบ่งปันหรือช่วยเหลือผู้อื่น ต่อมาโลภะรวมถึง การหาทรัพย์อย่างทุจริตมาใช้เพื่อประโยชน์ทางศาสนาด้วย ถือเป็นการมุ่งร้ายต่อศาสนา และเป็นการหักหลังต่อผู้นับถือคริสต์ศาสนาอีกด้วย แมมมอน 'Mammon' ปีศาจแห่งความมั่งคังที่ไม่เป็นธรรม เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของโลภะคือ กบ สีประจำบาปคือสีเหลือง บทลงโทษของผู้ที่โลภมากคือการถูกแช่ในน้ำมันเดือด


ความไม่สนใจใยดีต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อสิ่งรอบข้าง ใช้เวลาอย่างไร้ค่า ความไม่ต้องการที่จะทำอะไร โดยปล่อยให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำงานหนักเพื่อตนเองเท่านั้น การปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเลยที่จะทำดีรวมถึงการละเลยที่จะเคารพต่อพระเจ้าด้วย ผู้ที่เกียจคร้านจะอยู่เฉยๆ รักษาสภาพความเป็นอยู่ของตนเองในภาวะเดิมตลอดเวลา ไม่ทำอะไรมาก แต่ก็ไม่ใช้อะไรมากเช่นกัน เบลเฟกอร์ 'Belphegor' ปีศาจผู้ไม่ยอมทำอะไรเพียงแต่บอกให้มนุษย์คอยทำสิ่งเหล่านั้นให้เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของเกียจคร้านคือแพะ สีประจำบาปคือสีคราม บทลงโทษของผู้เกียจคร้านคือการถูกโยนลงไปในบ่องูพิษ



ความโกรธเคืองและพยาบาทที่ขาดความเหมาะสม การทนรับสภาพในบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ การแสวงหาหนทางผิดกฎหมายบ้านเมือง ในศีลธรรมในการล้างแค้น การมุ่งร้ายที่จะทำสิ่งต่างๆแก่บุคคลที่ตนไม่ชอบ รวมถึงการไม่ชอบบุคคลอื่นโดยไร้เหตุผล เช่น สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา นำไปสู่การฆ่าและฆาตกรรมผู้อื่น ซาตาน 'Satan' ปีศาจแห่งความมืดเป็นตัวแทนประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของโทสะคือหมี สีประจำบาปคือสีแดง บทลงโทษของผู้ที่มีบาปโทสะคือ การถูกฉีกร่างทั้งเป็น (ซ้ำแล้วซ้ำเล่า)


ความปรารถนาให้ผู้อื่นรับเคราะห์ การไม่ยอมรับผู้อื่นที่มีสิ่งต่างๆ ดีกว่าตนเอง ทั้งด้านทรัพย์สมบัติ ลักษณะรูปร่างนิสัย และ การประสบความสำเร็จ ความอิจฉานำไปสู่การรังเกียจตัวเอง ต้องการอยากเป็นผู้อื่น นำไปสู่การขโมยและทำลายผู้อื่น ความอิจฉาริษยาเป็นการพัฒนาต่อจากตะกละและโลภะที่สุดขั้ว ลิเวียธาน 'Leviathan' ปีศาจอสรพิษทะเลแห่งนรก ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านพระเจ้าถือเป็นปีศาจประจำบาปนี้ สัญลักษณ์ของริษยาคือสุนัข สีประจำบาปคือสีเขียว บทลงโทษผู้ที่มีความอิจฉาคือถูกเย็บตาอย่างทรมาน


อัตตาเป็นยอดแห่งบาปทั้งปวง หมายถึงความต้องการเป็นผู้ที่มีความสำคัญและอำนาจเหนือผู้อื่น (เช่นต้องการเป็นพระราชา) การที่รักตนเองมากจนเกินไป หลงในอำนาจและรูปลักษณ์ของตัวเอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบตนเองเทียบเท่ากับพระเจ้า) ซึ่งบาปประการนี้ทำให้ ลูซิเฟอร์ 'Lucifer' (ปีศาจประจำบาปนี้) ถูกขับไล่ออกจากสวรรค์ เนื่องจากลูซิเฟอร์เห็นว่าตนมีอำนาจเท่ากับพระเจ้าและสามารถสร้างพรรคพวกของตัวเองเพื่อต่อต้านและไม่เคารพพระเจ้า คนที่มีความโอหังจะสนใจเฉพาะตนเองเท่านั้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเป็นเช่นไร สัญลักษณ์ของอัตตาคือม้า สิงโต นกยูง สีประจำบาปคือสีม่วง บทลงโทษของผู้ที่โอหังคือการถูกทรมานบนวงล้อ (มัดกับวงล้อแล้วให้วงล้อหมุนเรื่อยๆ ผู้ถูกทรมานจะถูกบดขยี้กับพื้น)

โปรด ติดตามตอนต่อไป

วัน ทั้ง 7


วัน ทั้ง 7 
ตามความเชื่อ ต่างๆ

 

ในศาสนายูดายและวัฒนธรรมคริสต์ วันแรกของวันทั้งเจ็ดได้แก่ วันอาทิตย์ ตามพระคัมภีร์ไบเบิล พระเจ้าได้สร้างโลกในเวลาหกวัน และพักผ่อนในวันที่เจ็ด วันแซบเบท วันเสาร์ นี่ทำให้วันอาทิตย์กลายเป็นวันแรกของสัปดาห์ ในขณะที่วันเสาร์เป็นวันสำหรับเฉลิมฉลองและพักผ่อน วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์ แต่ว่าถูกแทนที่โดยวันแห่งการเฉลิมฉลองและการพักผ่อน เรียกว่า "วันแห่งพระเจ้า" ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้วันอาทิตย์ถูกมองว่าเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์
นอกจากนั้น ยังมีความแตกต่างกันของหลักฐานเกี่ยวกับการบันทึกเรื่องของวันในภาษาต่างๆ - เช่น ในภาษาฮีบรู อารบิก กรีก ละตินคาทอลิก และโปรตุเกส บางภาษาได้เรียกวันเป็นตัวเลขเรียงตามลำดับของวัน และเรียกวันอาทิตย์ว่าเป็นวันที่หนึ่ง ส่วนในภาษาอื่นๆ เช่น กลุ่มภาษาสลาฟ ก็เรียกว่าวันเป็นตัว้ลขเช่นกัน แต่ว่าใช้วันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ และการเรียกวันในกลุ่มภาษาสลาฟไม่ได้เรียงตามลำดับวันในสัปดาห์ แต่เรียงตามระยะห่างจากวันอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้ วันพุธ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วันกลางสัปดาห์"
ในยุโรปส่วนใหญ่ปัจจุบันนี้ และบางประเทศอื่นๆ วันจันทร์ได้กลายเป็นวันแรกของสัปดาห์ และถูกตั้งชื่อในภาษาต่างๆ เช่น 星期一 (แปลว่า ช่วงดาวหนึ่ง) ในภาษาจีนกลาง และ pirmadienis ในภาษาลิธัวเนีย ข้อตกลง ISO ได้กำหนดว่าวันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ เช่นเดียวกับ ISO-8601 สำหรับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

ในอารยธรรมฮินดู ก็ได้มีการใช้วันทั้งเจ็ดจากเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเขียนเป็นภาษาสันสกฤตราว 500 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้คำว่า Bhanu-vaar หมายถึง วันอาทิตย์ Soma-vaar หมายถึง วันจันทร์ และต่อๆ ไป
การอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบอยู่ในงานเขียนของจีน ซึ่งถูกระบุว่าเป็นของ ฟาน หนิง มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ส่วนในประเทศอินเดียนั้นก็มีการบันทึกเกี่ยวกับงานเขียนของพระสงฆ์จีนชื่ออี ชิง และพระสงฆ์จากเกะลังกาชื่อบู คง ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 การถ่ายตัวอักษรจีนเรื่องระบบดาวเคราะห์นั้นภายหลังได้ถูกนำไปสู่ดินแดนญึ่ปุ่นโดยพระสงฆ์ชาวญี่ปุ่น โคโบ ไดชิ

วันทั้งเจ็ดนั้นได้ถูกใช้มาแล้วเป็นเวลากว่าสองสหัสวรรษ และมีทั้ง ปฏิทินอเล็กซานเดรียน ปฏิทินจูเลียนและปฏิทินเกรโกเรียน

ความเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1-3 ของจักรวรรดิโรมัน นั้นได้คอ่ยๆ เปลี่ยนปฏิทินโรมันแบบสัปดาห์ละแปดวันลดลงเหลือเพียงเจ็ดวัน โดยผู้ที่อธิบายถึงการเรียงลำดับของวันนี้ คือ เวตติอุส วาเลนส์กับไดโอ แคสซุส ตามที่ทั้งสองเขียนเอาไว้ มันคือหลักทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสวรรค์ (วัตถุบนฟากฟ้า) และแนวคิดนี้ก็ได้ส่งต่อสืบกันมา ระบบพโตเลมีได้ยืนยันถึงการเรียงลำดับวัตถุบนฟากฟ้า (ลำตัวของสวรรค์) จากไกลที่สุดมาหาใกล้ที่สุดไว้ดังนี้: ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคารดวงอาทิตย์ ดาวพุธและดวงจันทร์ (เป็นแนวคิดของลัทธิสโตอิกของกรีกในสมัยโบราณ)
ตามทฤษฎีดาราศาสตร์ ไม่เพียงแค่วันในสัปดาห์เท่านั้น แต่ว่ายังมีอิทธิพลกับแต่ละชั่วโมงของวันอีกด้วย ถ้าหากในชั่วโมงแรกของวันนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวเสาร์ (Saturn) ชั่วโมงที่สองของวันก็จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ชั่วโมงที่สาม ก็จะเป็นดาวอังคาร (Mars) และต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นทุกๆ เจ็ดชั่วโมง ดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดดวงจะหมุนเวียนกันไป นอกเหนือจากนี้ ในชั่วโมงที่ยี่สิบห้า ซึ่งก็คือชั่วโมงแรกของวัดถัดไป จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงอาทิตย์ และชั่วโมงที่สี่สิบเก้า คือ วันแรกของอีกสองวันข้างหน้า จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงจันทร์

ชื่อของวันทั้งเจ็ด

ชื่อภาษาอังกฤษของวันทั้งเจ็ดได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากภาษาเยอรมัน และบางส่วนก็มาจากภาษาโรมัน
  • วันอาทิตย์ คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Sunnandæg (ออกเสียงว่า Sun-nan-dag หรือ Sun-nan-dye "dye" เหมือนในคำภาษาอังกฤษใหม่) หมายถึง "วันแห่งดวงอาทิตย์" ซึ่งเป็นการแปลมาจากภาษาลาตินว่า Dies Solis ภาษายุโรปอีกจำนวนมาก รวมไปถึงภาษาซึ่งดัดแปลงมาจากภาษาโรมัน ได้เรียกชื่อวันอาทิตย์ว่า "วันแห่งพระเจ้า" (Dies Dominica ในภาษา Ecclesiastical Latin และ Domingo ในภาษาสเปน) ทุกวันอาทตย์ชาวคริสต์ต้องไปที่โบสถ์เพื่อประกอบพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนา
  • วันจันทร์ คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Mōnandæg (ออกเสียงว่า Moh-nan-dag หรือ Moh-nan-dye) หมายถึง "วันแห่งดวงจันทร์" นี่เหมือนกับว่าแปลมาจากชื่อภาษาลาตินว่า Dies Lunae
  • วันอังคาร คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Tiwesdæg (ออกเสียงว่า Tee-wes-dag หรือ Tee-wes-dye) หมายถึง "วันแห่ง Tyr (ชื่อของสัตว์ในเทพนิยายโรมันแบบหนึ่ง)" ชื่อของวันดังกล่าวมาจากคำภาษาลาตินว่า Dies Martis (วันแห่งมาร์ส) ภาษาฝรั่งเศสว่า Mardi ภาษาสเปนว่า Martes
  • วันพุธ คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Wōdnesdæg (ออกเสียงว่า wohd-nes-dag หรือ wohd-nes-dye) หมายถึง "วันของ Woden" (Wodan) ชื่อขจองเทพเจ้าเยอรมันองค์หนึ่ง ซึ่งถูกรู้จักกันโดยสามัญว่า โอดิน เทพบิดรแห่งเทพนิยายนอร์ส และเทพชั้นรองของ ชาวแองโกล-แซกซอน (และอื่นๆ) ในดินแดนอังกฤษจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 มันมาจากภาษาลาตินว่า Dies Mercurii "วันแห่งเมอร์คิวรี่" ภาษาฝรั่งเศสว่า Mercredi ภาษาสเปนว่า Miércoles การเชื่อมโยงกันระหว่างเมอร์คิวรี่และโอดินมีมาก ดังตัวอย่างทั่วไปว่าเทพทั้งสององค์เป็นผู้นำวิญญาณ และทั้งสององค์ยังมีความสามารถที่คล้ายกันอีกหลายประการ และในภาษาเยอรมัน คำมีหมายถึง mittwoch
  • วันพฤหัสบดี คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Þūnresdæg (ออกเสียงว่า thoon-res-dag หรือ thoon-res-dye) หมายถึง "วันแห่ง Þunor" ซึ่งถูกรู้จักกันโดยสามัญว่าธอร์ ซึ่งเป็นเทพแห่งสายฟ้าตามความเชื่อของนอร์ส มาจากคำภาษาลาตินว่า Dies Iovis "วันแห่งจูปิเตอร์" ภาษาฝรั่งเศสว่า Jeudi ภาษาสเปนว่า Jueves ตามความเชื่อของชาวโรมัน จูปิเตอร์ถือได้ว่าเป็นเทพสูงสุด ผู้มีพลังอำนาจแห่งฟ้าผ่า
  • วันศุกร์ คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Frigedæg (ออกเสียงว่า free-ye-dag หรือ free-ye-dye) หมายถึง "วันแห่ง Frige" ชื่อของเทพีแห่งความงามของชาวเยอรมัน ซึ่งภายหลัง Frigg มาจากภาษาลาตินว่า Dies Veneris "วันแห่งเทพีวีนัส" ภาษาฝรั้งเศสว่า Vendredi ภาษาสเปนว่า Viernes (เทพีโรมันแห่งความงาม ความรักและเพศ)
  • วันเสาร์ คำภาษาอังกฤษได้ชื่อมากจากเทพโรมัน แซทเทิร์น พระบิดาของ ซุส และเหล่าเทพแห่งโอลิมปัสเป็นจำนวนมาก ส่วนภาษาแองโกล-แซกซอนเดิมว่า Sæturnesdæg (ออกเสียงว่า Sat-urn-es-dag หรือ Sat-urn-es-dye) ภาษาลาตินว่า Dies Saturni "วันแห่งแซทเทิร์น" ภาษาฝรั่งเศสว่า Samedi ภาษาสเปนว่า Sábado ซึ่งมาจาก Sambata Dies "วันแห่งแซบเบท"

ยังมีความเชื่อมโยงระหว่างวันทั้ง 7 บาปทั้ง 7 บุคลิกคนทั้ง 7 ประเภท ติดตามต่อไป ครับ



สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา เลข 7

ปริศนาเลข 7 


สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา  เลข  7

สิ่งที่ ธรรมชาติสร้าง มาล้วนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เลข 7 ในหลากหลายความเชื่อ ในหลายๆศาสนา ต่างมีความเห็นที่ แตกต่างกัน แต่ความจริงของเลข 7 ที่ธรรมชาติสร้างนั้น  เป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ ความลึกลับของเลข 7 นั้น ชวนให้น่า พิศวง

ปล ความหมายแล้วแต่วิจรณญานของผู้อ่าน