โพสต์แนะนำ

สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา เลข 7

ปริศนาเลข 7   สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา  เลข  7 สิ่งที่ ธรรมชาติสร้าง มาล้วนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เลข 7 ในหลากหลายความเชื่อ ในหลายๆศาส...

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระเสาร์ ดาวเสาร์ คนเกิดวันเสาร์

เลข 7 พระเสาร์  ดาวเสาร์  คนเกิดวันเสาร์


พระเสาร์ (เทวนาครี: शनि ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) 10 ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น)

พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม แต่อดทน ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์

ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๗ (เลขเจ็ดไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ 10 ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น 10 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือปางนาคปรก

เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตก พระเสาร์อาจเทียบได้กับโครนอสตามเทพปกรณัมกรีก และแซทเทิร์นตามเทพปกรณัมโรมัน







ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า[3][4] แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่ปริมาตรของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า[5][6][7] ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า

ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก



ตำนานพระเสาร์
เรื่องราวของพระเสาร์ ก็ขอเอาด้านความรู้วิทยาศาสตร์สาขาดาราศาสตร์กันสักนิดนะ พระเสาร์ (Saturn) เป็นดาวพระเคราะห์ขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี มีวงแหวนล้อมรอบ กาลิเลโอพบตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๕๓ และเมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๙ ฮุยเจน (Huygens) นักดาราศาสตร์ชาวฮอลันดาจึงได้พบวงแหวนรอบดาวพระเสาร์ ดาวพระเสาร์มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๗๖,๕๐๐ ไมล์ ใหญ่กว่าโลกมาก อาจบรรจุโลกได้ถึง ๘๐๐ โลก แต่ความแน่นทึบมีเพียง ๑ ใน ๘ ของโลก จึงหนักเพียง ๙๕ เท่าของโลก ความดึงดูดก็มีน้อย คือมีมากกว่าโลกเพียง ๑ ใน ๕ เท่านั้น ดาวพระเสาร์โคจรห่างจากพระอาทิตย์เฉลี่ยประมาณ ๙.๕๔ หน่วยดาราศาสตร์ ห่างที่สุดราว ๙๓๖,๓๘๘,๐๐๐ ไมล์  ทางโคจรเป็นรูปไข่รี โคจรด้วยความเร็ว ๖ ไมล์ต่อวินาที โคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง ๒๙.๔๖ ปี แต่หมุนรอบตัวเองเร็ว ใช้เวลาราว ๑๐ ชั่วโมง ๓๘ นาทีเท่านั้น ดาวพระเสาร์อยู่ห่างจากโลกที่สุดราว ๑,๐๓๐,๙๑๒,๑๐๐ ไมล์ และใกล้ที่สุดราว ๗๔๒,๖๔๔,๐๐๐ ไมล์
ก็เอาเรื่องนี้มาเจิมกันเพียงเท่านี้ละครับ
เรื่องกำเนิดพระเสาร์ก็ดูๆ จะยุ่งๆ ชวนให้ปวดหมองอีกนั่นแหละครับ ในทางโหราศาสตร์ว่าพระอิศวรทรงสร้างพระเสาร์จากเสือ ๑๐ ตัว ในหนังสือเฉลิมไตรภพกล่าวไว้ดังนี้

แล้วนำพยักฆ์ยิ่งยง          สิบตัวประสงค์
ถวายพระองค์ทรงญาณ
พร้อมเสร็จเสด็จภินิหาร    เพ่งเนตรเสนาพาล
พยัคฆ์เป็นผงคลี
ผ้าทิพย์สีเขียวแกสี่          ห่อผงธุลี
คลุกคลีระคนปนกัน
สวดมนตร์ประน้ำทิพย์วัน   รดลงเร็วพลัน
ห่อนั้นก็เป็นเทพา
ทรงเครื่องรุ่งเรืองรจนา      เขียวทั้งกายา
นามว่าพระเสาร์เสารี

บางตำนานก็ว่าพระเสาร์เป็นโอรสของ พรพลราม กับ นางเรวดี และก็บางตำนานอีกนั่นแหละว่าพระเสาร์เป็นโอรสของพระอาทิตย์องค์ที่เป็น พระสุริยาทิตย์ กับ นางฉายา เฉพาะเรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกหน่อย ก็ไม่หน่อยละมากเหมือนกันแหละ และมีเรื่องอยู่ในวิษณุปุราณะเชียวนะ เรื่องของเรื่องก็คือ พระสุริยาทิตย์หรือพระอาทิตย์นี่แหละมีชายา ๕ องค์ คือ สัญญา ฉายา สุวรรณี สวาดี มหาวีรยา แต่พระอาทิตย์รักนางสัญญามากที่สุด แน่ะ เทวดาก็ยังมีลำเอียงด้วยแฮะ อันว่า นางสัญญาหรือสรัณยา หรือ สังคณา ก็องค์เดียวกันนะเนี่ยเป็นบุตรีของพระวิศุกรรม เมื่อได้กับพระสุริยาทิตย์และอยู่ด้วยกันหลายปีดีดักจนมีลูกถึง ๓ องค์ นัยว่าตอนแรกๆ ก็ทนความร้อนของพระอาทิตย์ได้ นานเข้าชักทนไม่ไหว ที่ทนอยู่จนได้ลูกถึง ๓ องค์น่ะนัยว่าอยู่ทนแล้วนะเนี่ย เห็นจะทนอยู่ต่อไปไม่ไหวก็เล่นอุบาย โดยเธอหลบเสีย หลบไปไหนล่ะ ก็คอยอ่านตอนว่าด้วยเรื่องพระอาทิตย์เถอะส่วนตัวปลอมเธอก็ให้นางฉายาเป็นแทน พระสุริยาทิตย์ก็ไม่รู้หรอกว่าเป็นการย้อมแมวกัน และก็อยู่ด้วยกันหลายปีจนนางฉายาได้โอรสคือพระเสาร์นี่แหละ เรื่องพระเสาร์เป็นโอรสของพระสุริยาทิตย์กับนางฉายาก็เป็นอย่างที่ว่านี่แหละ แต่ต่อมาความจริงก็ถูกเปิดซิครับ เรื่องอย่างนี้ปิดกันไม่ได้หรอก แต่ในเรื่องน่ะความจริงที่ถูกเปิดออกจะเป็นเรื่องประหลาดไม่เหมือนมนุษย์หรอก อ้อเป็นเรื่องเทวดานี่ ลืมไป เรื่องก็มีว่าวันหนึ่งนางฉายามีความโกรธพระยม พระยมนี่เป็นโอรสของนางสัญญาหรือสรัณยากับพระสุริยาทิตย์ นางฉายาก็แช่งฉับเข้าให้ ผลก็เป็นไปตามที่แช่ง ตรงนี้ละเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง คือผิดธรรมเนียมเทวดา เพราะตามธรรมดาคำแช่งของมารดาจะไม่ยังผลต่อบุตร แต่นี่มีผล พระสุริยาทิตย์ก็ใช้วิชาตรรกวิทยาได้ว่า นางยานี่ต้องไม่ใช่แม่ของพระยมถึงได้แช่งแล้วได้ผล เมื่อไม่ใช่แม่ของพระยมต้องไม่ใช่นางสรัณยา เมื่อไม่ใช่นางสรัณยาก็ต้องเป็นตัวปลอด จับความจริงกันได้ด้วยวิธีการนี้ครับ

เรื่องกำเนิดพระเสาร์มีเรื่องแปลกออกไปอีก ในตำรับสันสกฤตเรื่องปาราศรโหราศาสตร์และศานติศาสตร์น่ะ กล่าวว่าพระเสาร์เกิดที่เมืองเสาราษฎร์ อยู่ในวรรณะศูทร รูปร่างดำเป็นนิล ผอมสูง แต่คงไม่ใช่ดาร์คทอลแอนด์แฮนซั่มหรอก เพราะนัยน์ตาจะเป็นน้ำผึ้ง แต่ฟันใหญ่ ผมเหมือนขนลา และมีฐานะเป็นเพียงคนใช้ ถึงกระนั้นก็มีอาวุธประจำตัว คือมีศูลและธนู มีหาหนะเป็นนกแร้ง แต่บางทีก็ว่าเป็นกา ที่ร้ายไปกว่านั้นในตำรับที่ว่านี่แหละ ยังเหมาเอาว่าพระเสาร์เป็นกะเทยเข้าไปอีก คือเป็นนปุงสกลึงค์ ผมออกประหลาดใจแท้ กะเทยนี่มีแล้วแต่ครั้งกระโน้นหรือ

พระเสาร์นี้ถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งกสิกรรมและอารยธรรม ทั้งมีหน้าที่ดูแลรักษาฤดูวสันต์คือฤดูใบไม้ผลิ

ส่วนนามแฝงของพระเสาร์มีดังนี้ครับ
กรูรโลจน์ (มีนัยน์ตาดุ)
ปังคุ (มีขาพิการ)
นิลวาส (อาภรณ์สีดำ)
สัปตารฺจิ (มีเปลวเป็นรัศมีเจ็ดแฉก)
ศนิ (ย่อมมีปรกติช้า)
ศไนสฺจร (ไปไหนช้า)
นันทะ (เงื่องหงอย)

เรื่องพระเสาร์ขาเขยกไปไหนช้าเงื่องหงอยนั่นน่ะ ที่จริงผมก็ได้เล่าไว้ในเรื่องพระคเณศแล้วละ จะฉายซ้ำชนิดสั้นอีกครั้ง คือพระอุมามเหสีพระอิศวรมีโอรส บรรดาเทวดาทั้งหลายทั้งปวงก็ไปแสดงความชื่นชม มีแต่พระเสาร์ไม่ยอมมองพระกุมาร ครั้นพระอุมาตรัสถามพระเสาร์ก็เล่าความจริงว่าตนถูกเมียแช่งไม่ให้มองใครถ้ามองใครผู้นั้นจะพินาศ สาเหตุเพราะเมียโกรธที่ตนเข้าฌาณเพลินจนไม่รู้ว่าเมียบ่นเรื่องอะไร พระอุมาก็ขืนให้ดู พระเสาร์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกจำใจดู ผลพระกุมารเลยหัวขาด พระนารายณ์ต้องทรงครุฑไปยังลำน้ำบุษปภัทร ตัดศีรษะช้างมาต่อให้กุมาร พระอุมาเลยสาปให้พระเสาร์ขาเป๋ครับ

อ้อ พระเสาร์ไม่ค่อยจะกินเส้นกับพระอังคารนัก ถึงแม้จะเป็นดาวพระเคราะห์ด้วยกันก็เถอะ ทั้งนี้เพราะเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันแต่ปางก่อน คือมีเรื่อง ๒ เรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งพระเสาร์ถือกำเนิดเป็นงู พระอังคารถือกำเนิดเป็นหมองู หมองูก็จับงูไปทรมานให้คนดูเล่น งูก็เจ็บและแค้นละครับ อีกเรื่องหนึ่งพระเสาร์ไปเกิดเป็นต้นตะเคียนพระอังคารไปเกิดเป็นคนมีนามว่าพระยาโปริสาตในขณะที่พระยาโปริสาตไปล่าสัตว์เผลอสะดุดตอตะเคียนเข้าเสี้ยนตำที่เท้า ด้วยความเจ็บปวดก็เลยโมโหตอตะเคียน นี่แหละผลนายเวรแต่ปางก่อนละ พระอังคารกับพระเสาร์จึงปีนเกลียวกัน

ในรามเกียรติ์น่ะพระเสาร์ลงมาเกิดเป็นทหารของพระรามด้วยนะ คือเป็นลิงชื่อนิลพานรหรือวิมล

รูปร่างของพระเสาร์นั้น เขียนเป็นมนุษย์รูปร่างแข็งแรงมีรัตนมณีนิลเป็นอาภรณ์อย่างเทวดา สีกายดำมือถือศูลและธนู มีนัยน์ตาดุ ขาพิการ บนเศียรทำเป็นรัศมี ๗ แฉก และทรงเสือเป็นพาหนะ

ก็เป็นอันจบเรื่องพระเสาร์ครับ ทีนี้ผมก็ต้องต่อเติมเรื่องอื่นอีกนั่นแหละ คราวโน้นผมเพิ่มเรื่องวรรณะต่างๆ ไว้ คราวนี้ผมเพิ่มเรื่องพราหมณ์อย่างเดียว โดยที่ขอคัดจากอภิธานศกุนตลาพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ เลย มีดังนี้ครับ



พราหมณ์  เป็นชนชาต (หรือวรรณะ) ที่ ๑ ตระกูลนักบวช แต่ไม่จำเป็นจะต้องบวชทุกคน
มานวธรรมศาสตร์จัดพราหมณ์เป็น ๔ ชั้น (อาศรม) คือ
๑. พรหมจารี  นักเรียน มีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติและศึกษาพระเวทในสำนักคณาจารย์คนใดคนหนึ่ง (เทียบกับทางพุทธศาสน์ คือสามเณรและนวกะ)
๒. คฤหัสบดี ผู้ครองบ้าน มีภรรยาและครอบครัวเป็นหัวหน้าในบ้าน อ่านและสอนพระเวท ทำการบูชาเองหรือช่วยผู้อื่นกระทำชญกรรม ให้ทานและรับทักษิณ
๓. วานปรัสถ์  ผู้อยู่ป่า ละเคหสถานและครอบครัวเข้าป่าเพื่อทรมานตน มักน้อยในอาหารและเครื่องนุ่งหุ่ม กระทำทุกขกิริยาต่างๆ สมาธิและมั่นคงในกิจวัตร (พวกดาบสและโยคีอยู่ในจำพวกนี้)
๔. สันน์ยาสี เพียรภิกขาจาร เลี้ยงชีพด้วยการขอเขากิน และตั้งจิตมุ่งอยู่ตรงพระปรพรหมและนฤพาน อีกนัยหนึ่งเรียกว่าภิกษุ (แต่คำภิกษุหรือภิกขุในสมัยนี้ใช้เรียกแต่นักบวชในพระพุทธศาสนาเป็นพื้น พราหมณ์ที่ประพฤติอย่างภิกขุคงเรียกว่าสันน์ยาสีอย่างเดียว)

ชาติพราหมณ์ มีแบ่งเป็นตระกูลเล็กตระกูลน้อยเป็นอันมากเหลือที่จะพรรณาได้หมด ที่นับว่าเป็นตระกูลหรือคณะอันมีชื่อเสียงมากที่สุด คือคณะเหนือกับคณะใต้ดังนี้
ปัญจโคท (คณะเหนือ) อยู่ในแคว้นองคราษฎร์ (Bengal) มี ๕ เหล่า คือ
๑. กานยกุพชะ อยู่เมืองกันยกุพช์ (Kanauj)
๒. สารัสวัต  อยู่ตามริมฝั่งน้ำสรัสวดี (Sarsuti River)
๓. โคทะ (Gauda Bengal)
๔. มิถิลา (Nort Bihar)
๕. อุตกล (Orissa)

ปัญจทราวิฑ (คณะใต้) คือคณะพราหมณ์ทมิฬ มี ๕ เหล่าคือ
๑. มหาราษฎร์ (Mahratta Country)
๒. เตลิงคะ (Telegu Country)
๓. ทราวิท หรือทมิฬ (Taimil Country)
๔. กรรนาฏ (Canarese Country)
๕. คูร์ชระ (Gujerat)

ข้าพเจ้าได้เขียนนามตำบลเป็นภาษาอังกฤษกำกับไว้ เพราะเห็นว่าถ้ามิฉะนั้นผู้ศึกษาภูมิศาสตร์ตามตำราฝรั่งจะฉงน จะบ่นว่าไม่รู้ว่าที่ไหนเป็นที่ไหน เช่นเมืองมหาราษฎร์เป็นต้น เคยได้ยินแต่ครูเขาเรียกอย่างอังกฤษว่า มาแร็ตต้า จะให้รู้จักอย่างไร เมื่อมาเห็นเขียนเป็นไทยว่ามหาราษฎร์

ข้างต้นผมคัดจากอภิธานศกุนตลาครับ แต่เห็นมีความต่อเนื่องน่ารู้อีกนิด ตรงเรื่องวานปรัสถ์นั่นแหละ ในหนังสือชุมนุมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงสารานุประพันธ์ได้แบ่งย่อยลงไปอีกขอเติมเลยนะครับ

๑. ฤาษี แปลว่าผู้แสวง หมายถึงการแสวงหาโมกษะ คือการหลุดพ้นจากสงสารวัฏความเวียนว่ายตายเกิด
๒. โยคี แปลว่าผู้บำเพ็ญโยคะ คือความเพ่งเล็งในดวงจิต เพื่อประโยชน์ให้อาตมันหรือวิญญาณได้เข้าร่วมอยู่ในปรมาตมัน (หรือปรพรหม) ให้เกิดความบริสุทธิ์ใสสะอาดแม้กระทบอารมณ์ใดๆ ก็ไม่ปรวนแปร
๓. ดาบส  แปลว่าผู้บำเพ็ญตบะ คือการทรมานกายโดยวิธีฝืนปกติแห่งอิริยาบถต่างๆ เพื่อหวังผลสำเร็จเป็นผู้วิเศษ เช่น ยืนตีนเดียว เหนี่ยวกินลมอยู่นานนับด้วยสิบๆ ปี หรือนั่งสมาธิไม่ลุกขึ้นนับด้วยสิบๆ ปี
๔. มุนี  แปลว่าผู้สงบ ได้แก่ผู้บำเพ็ญตบะที่นุ่งห่มสีเหลือง
๕. สิทธา แปลว่าผู้สำเร็จฌานสมาบัติ คือผู้กระทำตบะและโยคะ ได้ถึงที่สุดแล้ว
๖. นักพรต แปลว่าผู้บวช และถือพรตพรหมจรรย์ตามลัทธิพราหมณ์
๗. ชฎิล แปลว่า ฤาษีผู้มุ่นมวยผมสูงเป็นชฎา

ความรู้เล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ ทำให้ผมเขียนเรื่องชุดนี้ได้สบายใจขึ้นครับ เพราะไม่ต้องขยายความของเทพให้ได้ยาวพอเหมาะกับหน้า อย่าได้ถือเป็นเรื่องกริ้วโกรธเลยครับ ผู้อ่านบางคนยังเป็นนักเรียนนักศึกษาที่จำใจเรียนวรรณคดีน่ะจะพลอยได้รับความรู้ไปอย่างที่ไม่คิดว่ามันคือตำราครับ

ที่มา:รองศาสตราจารย์ประจักษ์  ประภาพิทยากร

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปริศนาเลข 7 กลุ่มดาวฤกษ์ 7 กลุ่ม

ปริศนาเลข 7  กลุ่มดาวฤกษ์ 7 กลุ่ม

1.กลุ่มดาวนายพราน






             กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียงโด่งดังสะท้านเอกภพอีกกลุ่มดาวหนึ่งในฤดูหนาวเพราะสามารถมองเห็นได้ยาวนาน และสังเกตหาง่าย สำหรับคนไทยเรียกกลุ่มดาวนายพรานว่า ดาวเต่า ข้างในดาวเต่ามี ดาวไถ อีกที เนื่องจากกลุ่มดาวนายพราน หรือ Orion ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนทั้งหมด 8 ดวง โดยมีดวงสำคัญ 4 ดวง ตั้งเรียงกันเป็นขาเต่าหน้าหลัง







                   กลุ่มดาวนายพรานมีดาว 2 ดวงที่เป็นดาวฤกษ์สว่างมาก ก็คือดาว บีเทลจุส (Betelgeuse) อยู่ตรงส่วนของไล่ขวานายพรานเป็นดาวยักษ์แดง สีออกแดงๆส้มๆ และอีกดวงก็คือดาว ไรเจล (Rigel) ตรงเข่าซ้ายนายพราน(หรือเท้าซ้าย) ดาบนายพรานคือดวงดาวที่เรียงตัวในแนวดิ่ง ใต้ดาวสามดวงในแนวเกือบจะเป็นแนวนอนก็คือ "เข็มขัดนายพราน" นั่นเอง กลุ่มดาวนายพรานจะเริ่มโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่เวลาประมาณหนึ่งทุ่ม ทางทิศตะวันออกโดยจะขึ้นแบบตะแคงข้าง ส่วนเวลาตกก็ประมาณตีห้า ทางทิศตะวันตกค่อนไปทางใต้เล็กน้อย 


2.กลุ่มดาวไถ







             กลุ่มดาวดาวไถ จะมองเห็นชัดในฤดูหนาวเป็นดวงดาวสามดวงเรียงกัน ถือว่าเป็นกลุ่มดาวที่ดูได้ง่ายในฤดูหนาวจะเห็นได้ชัดกลุ่มดาวไถมีประโยชน์ในการค้นหาดาวอื่น ๆ ซึ่งดาวไถจะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 800 - 1400 ปีแสง และเป็นแหล่งที่มีดาวดวงใหม่เกิดขึ้นมากที่สุดที่ตรงใจกลางดาวไถมีดวงดาวอยู่ถึง 110 ดวง คนไทยมองเห็นเป็นลักษณะเหมือนคันไถจึงเรียกว่า ดาวไถ ซึ่งกลุ่มดาวไถนี้มีกลุ่มดาวนายพราน (กลุ่มดาวเต่า) ล้อมรอบ โดยที่ดาวไถเป็นเข็มขัดของนายพรานนั่นเอง

3.กลุ่มดาวหมีใหญ่









           กลุ่มดาวที่มนุษย์รู้จักดีที่สุด และใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดก็คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่หรือกลุ่มดาวจระเข้ เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวสำคัญ ช่วยชี้หาดาวเหนือที่สว่างโดเด่นได้โดยไล่จากขาหน้าขวา ไปทางขาหน้าซ้าย เลยออกไปอีกประมาณ 5 ช่วง กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่ี่มองเห็นได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับดาวเหนือ แต่ในทางกลับกันเนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มากๆ จะเห็นได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบนทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลก





              ดาวกลุ่มนี้มี 7 ดวง มีลักษณะคล้ายกระบวยตักน้ำ 4 ดวงเป็นตัวกระบวย อีก 3 ดวง เป็นด้าน ชาวจีนและชาวยุโรปเขาเห็นเป็นรูปกระบวย จึงเรียกกลุ่มดาวกลุ่มนี้ว่า กระบวยใหญ่” (Big Dipper) ชาวกรีกซึ่งเป็นดินแดนแห่งเทพนิยายอันเกี่ยวกับ ดวงดาวต่าง ๆ เห็นเป็น หมีใหญ่” (Ursa Major) คนไทยเห็นเป็น จระเข้ทั้งกรีกและไทย เห็นเหมือนกันอยู่ 1 อย่างคือ เห็นดาว 3 ดวง ทางด้ามกระบวยเป็นหางหมี และหางจระเข้เหมือนกัน


4.กลุ่มดาวหมีเล็ก








                 กลุ่มดาวในดวงใจของนักเดินทาง ตำนานแห่งการเดินทางจากอดีตสู่ปัจจุบัน ที่นอกเหนือจากเข็มทิศที่ใช้ในการนำทางแล้ว ยังได้อาศัยดวงดาวเพื่อนำพาไปสู่จุดหมายปลายทาง Ursa Minor กลุ่มดาวหมีเล็ก ซึ่งดาวที่เป็นส่วนหางของดาวหมีเล็กก็คือ "ดาวเหนือ" นั่นเอง ซึ่งเป็นดาวที่มีประโยชน์มากสำหรับนักเดินเรือ ดาวที่ท้องของหมีเล็กทั้ง 4 ดวง จะมีแสงสว่างขนาด 2,3,4 และ 5 แมกนิจูดตามลำดับ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการช่วยให้เราสามารถวัดขนาดความสว่าง ของดาวข้างเคียงได้ เราสามารถมองเห็นกลุ่มดาวหมีเล็กได้ในช่วงเวลาประมาณ 21.00 น

5.กลุ่มดาวค้างคาว




                  กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตและจดจำได้ง่าย เพราะประกอบด้วยดาวฤกษ์สว่าง 5 ดวง เรียงตัวกันเป็นรูปตัวเอ็ม (M) คนไทยจะเห็นเป็นรูปค้างคาว จึงเรียกชื่อกลุ่มดาวนี้ว่า "กลุ่มดาวค้างคาว" ส่วนชาวโบราณจะเห็นเป็นรูปเก้าอี้ ที่ราชินีแคสสิโอเปียทรงประทับอยู่ กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย จะเคลื่อนที่รอบดาวเหนือ (Polaris) โดยอยู่ห่างจากดาวเหนือ ประมาณ 30 องศา และอยู่ทิศตรงข้ามกับกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) เสมอ กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย จะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ประมาณเที่ยงคืนของกลางเดือนพฤศจิกายน



                     - Schedar, 2.23, Yellow ดาวเชดดาร์ เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง ในระบบดาวคู่ มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 2.23 ส่วนดาวคู่ มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 8.9 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 228 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง "หน้าอก" (Breast)
                    - Caph, 2.3, White ดาวชาฟ เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว เป็นดาวแปรแสง มีความสว่างปรากฏระหว่าง 2.25-2.31 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 54 ปีแสง
                     - Cih, 2.5, Blue-white ดาวซิห์ เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน เป็นดาวแปรแสง มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 1.6-3.0 เป็นดาวคู่ โดยที่อีกดวง มีความสว่างปรากฏ ประมาณ 8.8 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 613 ปีแสง - Ruchbah, 2.7 ดาวรุคบาห์ มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 2.7 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 99 ปีแสง
                    - Segin, 3.38 ดาวเซกิน มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 3.38 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 442 ปีแสง

6.กลุ่มดาวม้าปีก






              
  ม้าปีก เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตเห็นและจำได้ง่าย เพราะมีดาวฤกษ์สุกสว่าง 4 ดวง ที่มีความสว่างใกล้เคียงกัน เรียงกันเป็นรูป 4 เหลี่ยมจตุรัส เรียกว่า "The Great Square" โดยดวงหนึ่งในสี่ดวง เป็นดาวที่ต่อระหว่างกลุ่มดาวม้าปีก และกลุ่มดาวแอนโดรเมดา (Andromeda) นอกจากนี้ กลุ่มดาวม้าปีกยังใช้ในการหากลุ่มดาวอื่นๆได้ โดยจะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ประมาณเที่ยงคืนของเดือนกันยายน

7.กลุ่มดาวลูกไก่





                กลุ่มดาวลูกไก่ หรือ กลุ่มดาวไพลยาดีส หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด   นับเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า จึง เป็นกลุ่มดาวที่ใช้ทดสอบสายตาของคนได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าคนทั่วไปจะเห็นเพียง 6 ดวง แต่ถ้าผู้ชำนาญดูบ่อย ๆ นับดูจะได้ 7 ดวง แต่ทว่าดาวกลุ่มนี้ตามความเป็นจริงไม่ได้มีแต่เพียง 7 ดวง แต่มีหลายร้อยดวงเป็น กระจุกดาวถ้ามีกล้อง 2 ตาหรือกล้องโทรทรรศน์ส่องดูดวงกลุ่มนี้ จะเห็นเป็น กระจุกดาวที่สวยงามที่สุดในท้องฟ้ากลุ่มหนึ่ง

    
        กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง


เรื่องเล่าในตำนานและวัฒนธรรมพื้นบ้าน


ที่มา  http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=juo5_kKY4XI

                ดาวลูกไก่ที่ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ทั้ง 7 ดวงนั้น ตามตำนานกรีกเล่าว่าดาวเหล่านี้เป็นตัวแทนของหญิงสาวเจ็ดพี่น้องแห่งไพลยาดีส ในขณะที่ตำนานชาวไวกิงบอกว่าดาวเหล่านั้นคือแม่ไก่ทั้งเจ็ดตัวของเฟรย์ยา ซึ่งคล้ายคลึงกับตำนานของไทย

                 ในยุคสำริดของยุโรป ชาวยุโรปบางส่วน เช่นชาวเคลต์หรือวัฒนธรรมอื่นก่อนหน้านั้น เชื่อว่ากลุ่มดาวนี้เกี่ยวข้องกับความอาลัยและงานศพ ในอดีตจะมีงานเทศกาลช่วงวันระหว่างวันศารทวิษุวัตจนถึงวันเหมายัน (ดู วันฮัลโลวีน หรือวันแห่งจิตวิญญาณ) เป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ กระจุกดาวนี้จะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าด้านตะวันออกหลังจากตะวันลับขอบฟ้า เหตุนี้กลุ่มดาวลูกไก่จึงมักให้ความรู้สึกถึงน้ำตาและความเศร้าโศก

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปริศนาเลข 7 แผ่นเปลือกโลกทั้ง 7

ปริศนาเลข 7       แผ่นเปลือกโลกทั้ง 7




การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษplate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)
แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก[แก้]
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนแยกจากกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบชนเข้าหากัน

โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่นที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง
ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหวภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
แผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดใหญ่ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ แผ่นอินเดีย, แผ่นอาระเบียแผ่นแคริบเบียนแผ่นฮวนเดฟูกาแผ่นนัสกาแผ่นทะเลฟิลิปปิน และแผ่นสโกเชีย
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกนั้นมีสาเหตุมาจากการรวมตัวและแตกออกของทวีปเมื่อผ่านช่วงเวลาหนึ่ง ๆ รวมถึงการรวมตัวของมหาทวีปในบางครั้ง ซึ่งได้รวมทุกทวีปเข้าด้วยกัน มหาทวีปโรดิเนีย (Rodinia) นั้นคาดว่าก่อตัวขึ้นเมื่อหนึ่งพันล้านปีที่ผ่านมา และได้ครอบคลุมผืนดินส่วนใหญ่บนโลก จากนั้นจึงเกิดการแตกตัวไปเป็นแปดทวีปเมื่อ 600 ล้านปีที่แล้ว ทวีปทั้งแปดนี้ต่อมาเข้ามาร่วมตัวกันเป็นมหาทวีปอีกครั้ง โดยมีชื่อว่าแพนเจีย (Pangaea) และในทึ่สุด แพนเจียก็แตกออกไปเป็นทวีปลอเรเชีย (Laurasia) ซึ่งกลายมาเป็นทวีปอเมริกาเหนือและยูเรเชีย และทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ซึ่งกลายมาเป็นทวีปอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวข้างต้น ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate motion) คือลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ได้ดังต่อไปนี้

ปริศนาเลข7 ทวีปทั้ง 7 ของโลก

ปริศนาเลข7    ทวีปทั้ง 7 ของโลก

ทวีปทั้ง 7 ของโลก
1.ทวีปเอเชีย
เป็นทวีปที่มีพื้นที่มากที่สุด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17,128,500 ตารางไมล์ เป็นทวีปทีมีประชากรมากที่สุดในโลก คือมีประมาณ 2,300,000 คน ยอดเขาเอเวอร์เร็สต์เป็นยดเขาที่สูงที่สุดในโลก
2.ทวีปแอฟริกา
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,707,000 ตารางไมล์ มีประชากรประมาณ 380,000,000 คน จุดสูงสุดของทวีป คือ เทือกเขาคิลิมานจาโร สูงประมาณ 19,340 ฟุต อยู่ในประเทศแทนซาเนีย
3.ทวีปอเมริกาเหนือ
มีพื้นที่ประมาณ 9,363,000 ตารางไมลื มีประชากรอาศัยอยู๋ประมาณ 340,000,000 คน จุดที่สูงที่สุดของทวีป คือ ยอดเขาแมคดินเลย์ สูงประมาณ 20,320 ฟุต อยู่ในรัฐอลาสกาของสหรัฐอเมริกา
4.ทวีปอเมริกาใต้
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,885,700 ตารางไมลื มีประชากรประมาณ 210,00,000 คน จุดที่สูงที่สุดของทวีป คือ ยอดเขาอะคอนดากัว สูงประมาณ 23,034 ฟุต อยู่ระหว่าง ประเทศซิลีกับอาร์เจนตินา
5.ทวีปยุโรป
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,056,000 ตารางไมล์มีประชากรประมาณ 660,000,000 คน จุดสูงสุดของทวีป คือ ยอดเขามองต์ปลัง สุงประมาณ 15,781 ฟุต อยู่ในประเทศฝรั่งเศส
6.ทวีปออสเตรเลีย
เป็นทวีปที่มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,987,900 ตารางไมลื มีประชากรประมาณ 14,000,000 คน จุดที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาคอสเซียสโค มีความสุงประมาณ 7,374 ฟุต
7.ทวีปแอนตาร์กติก
มีพื้นที่ประมาณ 6,000,000 ตารางไมล์ เป็นทวีปที่ไม่มีประชากรอาศัยอยู่เลย ตั้งอยู่บริเวณขั้วโลกใต้

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปริศนา เลข 7 สีทั้ง 7 ในแสงอาทิตย์

ปริศนา เลข 7   สีทั้ง 7 ในแสงอาทิตย์



 แสง (อังกฤษlight) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเหห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์



สีของลำแสง

แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว  ซึ่งประกอบด้วยแสง  7 สี  ผสมอยู่ด้วยกัน  เราสามารถใช้ปริซึมแยกลำแสงขาวออกเป็นแสงทั้ง  7  สีได้  โดยจะเห็นเป็นแถบของแสงสีทั้งหมดเรียงติดกัน เราเรียกว่า  สเปกตรัม (Spectrum)  ในธรรมชาติสิ่งที่มีสมบัติเป็นปริซึม  ได้แก่  หยดน้ำฝน  ละอองไอน้ำ  โดยภายหลังจากฝนตกเมื่อแสงแดดส่องกระทบหยดน้ำฝนหรือละออง ไอน้ำ  เราจะมองเห็นแสงแดดเป็นแถบสีทั้ง  7  สี  ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า  ที่เรียกว่า   รุ้งกินน้ำ  (ภาพที่  12.2) 

          สำหรับในอากาศหรือสูญอากาศ  แสงทั้ง  7  สี  จะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว  3 x  108  เมตรต่อวินาที  เท่ากันทุกสี  แต่หากเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง  เช่น  แก้ว  กระดาษ  พลาสติก  แสงแต่ละสีจะมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน  โดยจะมีอัตราเร็วน้อยกว่าการเคลื่อนที่ในสุญญากาศ(สุญญากาศ  คือ  บริเวณที่ว่างเปล่าปราศจากอากาศ)  
          เมื่อแสงเคลื่อนที่จากอากาศไปยังตัวกลาง  หรือจากตัวกลางไปยังอากาศ  หรือเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง  2  ชนิด  จะทำให้อัตราเร็วของแสงและทิศการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนไป  เราเรียนว่า แสงเกิดการหักเห  ในตัวกลางที่หนาแน่นนั้น  แสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสีม่วง  ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง   ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระจายแสงสีขาวออกเป็น  7  สี  นั้นเอง

ลำแสง

  ถ้าลำแสงผ่านควันหรือฝุ่นละออง  จะเห็นลำแสงนี้เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็ว  300,000 กิโลเมตรต่อวินาที  แสงสามารถผ่านวัตถุบางชนิดได้  แต่แสงไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้  เช่น แผ่นเหล็ก  ผนังคอนกรีต  กระดาษหนาๆ  เป็นต้น  วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงไว้บางส่วน  และเกิดเงาได้เมื่อใช้วัตถุแสงกั้นลำแสงไว้
          วัตถุโปร่งใส หมายถึง วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่เป็นตรงเส้นผ่านไปได้ เช่น อากาศ  น้ำ เป็นต้น  เราสามารถมองผ่านวัตถุโปร่งใส   เห็นสิ่งต่างๆได้  (ภาพที่  12.1)  
          แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งใสได  เช่น  กระจกฝ้า  กระดาษฝ้า  พลาสติกฝ้า  วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ  ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง

การเคลื่อนที่ของแสง

แสงที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง  เมื่อเดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่ต่างกัน จะเกิดการหักเห  แต่จะผ่านเป็นเส้นตรงเมื่อเดินผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นเท่ากันหรือเป็นตัวกลางชนิดเดียวกัน
          เลนส์และปริซึมเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของลำแสงที่ส่องผ่าน  ต่างกันตรงที่ปริซึมสามารถแยกลำแสงที่ส่องผ่านออกเป็นแสงสีต่างๆ ตามองค์ประกอบของแสงนั้น ๆ หรือที่เรียกว่า สเปกตรัม (spectrum) 


การหักเหของแสง
แสงเมื่อเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางโปร่งใสและมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน  ความเร็วในการเดินทางของแสงจะเปลี่ยนไป
          เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ  
          ถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปหาตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยแสงจะหักเหออกจาเส้นปกติ  ดังนั้นแสงเมื่อเดินทางในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก  ความเร็วของแสงจะลดลง  จึงทำให้ลำแสงเบนไปจากแนวเดิม  เรียกว่า  แสงเกิดการหักเห  (ภาพที่  12.6)
    แสงเมื่อเดินทางตกกระทบผิวหน้าของวัตถุอันหนึ่ง   เช่น  แสงเดินทางจากอากาศมากระทบแก้วโปร่งใส  แสงส่วนหนึ่งจะสะท้อนกลับ  อีกส่วนหนึ่งจะเดินทางผ่านเข้าไปในแก้ว  และแสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ   เมื่อแสงเดินทางออกจากแก้วมาสู่อากาศ  แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ  ลำแสงก่อนตกกระทบแก้ว  และลำแสงที่ออกจากแก้วจึงมีลักษณะขนานกัน  
          เมื่อจุ่มหลอดดูดลงไปในน้ำที่บรรจุอยู่ในถ้วยแก้วจึงมองดูเหมือนกับว่าหลอดดูดส่วนที่จมอยู่ในน้ำโค้งงอ  มีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่อยู่เหนือน้ำ   และปลาย ล่างสุดของหลอดดูดสูงขึ้นมากันแก้วที่เป็นเช่นนี้เพราะแสงจากหลอดดูดเกิดการหักเห ขณะเดินทางผ่านน้ำผ่านแก้ว  และผ่านอากาศมาเข้าตาของเรา 
การหักเหของแสงทำให้เรามองเห็นภาพของวัตถุอันหนึ่งที่จมอยู่ก้นสระน้ำอยู่ตื้นกว่า ความเป็นจริง   ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงจากก้นสระว่ายน้ำจะหักเหเมื่อเดินทางจากน้ำสู่อากาศ  ทั้งนี้เพราะความเร็วของแสงที่เดินทางในอากาศเร็วกว่าเดินทางในน้ำ  จึงทำให้้แสงช่วงที่ออกจากน้ำสู่อากาศหักเหออกจากเส้นปกติ  จึงทำให้เห็นภาพของวัตถุอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง

การสะท้อนของแสง
 แสงที่เดินทางจากตัวกลางที่โปร่งแสงไปสู่ตัวกลางที่โปร่งใส  เช่น  จากแก้วไปสู่อากาศ ถ้ามุมตกกระทบน้อย   กว่า  42  องศา  แสงบางส่วนจะสะท้อนกลับและบางส่วนจะทะลุออกอากาศ แต่ถ้าที่มุมแก้วตกกระทบแก้วกับ  42  องศา  แสงจะสะท้อนกลับคืนสู่แก้วหมดไม่มีแสงออกจากอากาศเลย  ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า  การสะท้อนกลับหมด  นั้นคือ  รอยต่อแก้วกับอากาศทำหน้าที่เสมือนการตกกระทบที่จะทำให้แสงสะท้อนกลับหมด  ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกลาง (ภาพที่  12.9)
                      
   เมื่อแสงตกกระทบวัตถุ แสงบ่างส่วนจะสะท้อนจากวัตถุ  ถ้าแสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่นัยน์ตาจะเกิดการมองเห็นและรับรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นได้

   

ภาพที่  12.10  แสดงการสะท้อนของแสง (มานี  จันทวิมล, 2545 : 103)
          จากรูป    เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสงผิงเรียบสามารถใช้เส้นตรงและหัวลูกศรแสดงทิศทางของรังสีตกกระทบและรังสีสะท้อน  เมื่อลากเส้นทางเดินของแสงเมื่อตกกระทบวัตถุจะเกิดมุม 2  มุม  โดยเรียกมุมอยู่ระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นปกติกว่า”มุมตกกระทบ” และเรียกมุมที่อยู่ระหว่างรังสีสะท้อนกับเส้นปกติว่า”มุมสะท้อน”  (ภาพที่12.10) ซึ่งการสะท้อนแสงบนผิววัตถุอธิบายได้ด้วย  

กฎการสะท้อน  ดังนี้
          1.  รังสีตกกระทบ  เส้นปกติ  และรังสีสะท้อนอยู่ในระนาบเดียวกัน
          2.  มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
          เมื่อแสงตกกระทบวัตถุผิวเรียบเกิดการสะท้อนของแสงอย่างเป็นระเบียบ  แต่ถ้าแสงตกกระทบพื้นผิวขรุขระ  แสงสะท้อนจะสะท้อนอย่างกระจัดกระจายดัง  (ภาพที่  12.11)


   มุมวิกฤต  (criticsl  angle)  เป็นมุมตกกระทบค่าหนึ่งทำให้เกิดมุมหักเหมีค่าเป็น  90  องศา  มุมวิกฤตจะเกิดขึ้นได้เมื่อรังสีตกกระทบผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า  เช่น  เมื่อแสงผ่านแก้วสู่อากาศด้วยมุมวิกฤต จะทำให้แนวรังสีหักเหทับอยู่บนรอยต่อของตัวกลางทั้งสอง
            การสะท้อนกลับหมด (total  reflection)  เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า  เมื่อแสงเคลื่อนที่ถึงรอยต่อระหว่างตัวกลางจะเกิดการสะท้อนกลับสู่ตรงกลางเดิม  การสะท้อนกลับหมดจะเกิดขึ้นเมื่อมุมตกกระทบมีค่ามากกว่ามุมวิกฤต  ทำให้ลำแสงไม่หักเหเข้าไปในตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า  แต่เกิดการสะท้อนกลับหมดแทน  เช่น  การสะท้อนกลับหมดของแสงในเส้นใยนำแสงในการแสดงดนตรีบนเวที  (ภาพที่  12.12)



มิราจ  (mirage)  หรือภาพลวงตา  เป็นปรากฏการณ์ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงเนื่องจากชั้นของอากาศที่แสงเดิมทางผ่านมีอุณหภูมิต่างกัน  แล้วเกิดการสะท้อนกลับหมด  เช่น 
            -   การมองเห็นต้นไม้กลับหัว
            -   การมองเห็นเหมือนมีน้ำหรือน้ำมันนองพื้นถนน  ในวันที่มีอากาศร้อนจัด  (ภาพที่ 12.13) 
            -   การมองเห็นภาพบิดเบี้ยว  เนื่องจากไอของความร้อนขยายตัวลอยสูงขึ้นจากผิวถนน