โพสต์แนะนำ

สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา เลข 7

ปริศนาเลข 7   สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา  เลข  7 สิ่งที่ ธรรมชาติสร้าง มาล้วนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เลข 7 ในหลากหลายความเชื่อ ในหลายๆศาส...

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พลังทั้ง7 ในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน สัมพันธ์ กับ หยิน หยาง



พลังทั้ง7 และธาตุทั้ง5
ในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน
สัมพันธ์ กับ หยิน หยาง

                          
            หยิน กับ หยาง ในความคิดของนักปรัชญาจีนเกี่ยวกับแบบแผนแห่งการหมุนวนของธรรมชาติ ได้ถูกกำหนดให้เป็นขั้วตรงข้ามกันสองขั้ว คือ หยิน (YIN) และ หยาง(YANG)เป็นขั้วซึ่งกำหนดขอบเขตของวัฏจักรแห่งการเปลี่ยนแปลง และ เชื่อว่า
เมื่อขั้วหนึ่งถึงจุดสูงสุดก็ต้องถอยให้กับอีกขั้วหนึ่ง จะเป็นเช่น
นี้เสมอไป

              ในทัศนะของนักปรัชญาจีน ฝ่ายธรรมชาตินิยม สิ่งที่ปรากฏขึ้นนั้น มวลของธรรมชาติมาจากการเคลื่อนไหว หรือ เปลี่ยนแปลงของพลังของขั้วทั้งสอง คำว่า หยิน กับ หยาง ตามความหมายเดิมใช้เปรียบเทียบกับความมืด และ ความสว่าง และต่อมายังได้ใช้แทนความเป็นชาย และ หญิง ความแข็ง และ     ความอ่อน ข้างบน และ ข้างล่าง เป็นต้น หยาง แทนส่วนที่มีความเข้มแข็ง ความเป็นชาย พลังจากวิญญาณ ในขณะที่ หยิน แทนความอ่อนโยน ความเป็นหญิง ความสงบนิ่ง พลังจิต สมาธิจิต หยิน คือ พลังจิตใจอันละเอียดอ่อนแบบหญิง มุ่งสู่ฌานปัญญา (Meditative) แห่งชีวิต คือ อี้ ส่วนหยาง คือ พลังหยาบของวิญญาณ มีความมุ่งมั่นอย่างชาย สู่ความเป็นหนึ่ง หรือ               ความยิ่งใหญ่แห่งอำนาจ หรือแห่งชีวิต คือ ฉี้ (Respiration)

               ส่วนการเคลื่อนไหวของ หยิน และ หยาง นักปรัชญาจีนได้แสดงด้วยสัญลักษณ์ทีเรียกว่า ไท่จี๋ถู (Tai Chi Tu) คือ แผนภูมิแสดงสัจธรรมอันสูงสุด แผนภูมนี้แสดงส่วนที่มืด คือ หยิน ส่วนที่สว่าง คือ หยาง และยังแสดงถึงการเคลื่อนไหวที่มีพลัง ส่วนจุดสองจุดข้างในแผนภูมิแทนความหมายที่ว่า เมื่อใดขั้วหนึ่งขั้วใดเคลื่อนถึงจุดสูงสุดก็จะต้องมีสิ่งตรงกันข้ามอยู่ด้วย นั้นคือ หยิน และ หยาง ทวิลักษณ์ (Two character)

               นักปรัชญาจีน ฝ่ายธรรมชาติวิทยา ได้เฝ้าสังเกตุการณ์การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ และได้พบว่า จากการเปลี่ยนแปลงนี้เอง ธรรมชาติได้สร้างสรรพสิ่งขึ้น และ สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีสองลักษณะ ซึ่งตรงกันข้ามกันเป็นทวิลักษณ์ หลักการทวิลักษณ์เป็นเรื่องของความผูกพันสิ่งที่มีลักษณะ หรือ คุณสมบัติตรงกันข้ามกันเข้าด้วยกัน เช่น กลางวัน กับ กลางคืน ทิศเหนือ กับ ทิศใต้ ความเย็น กับ ความร้อน ดำ กับ ขาว อ่อน กับ แข็ง เป็นต้น การนำหลักทวิลักษณ์มาใช้นี้ เรียกว่า หยิน หยาง

               จากการให้กำเนิดสรรพสิ่งของธรรมชาตินั้น นักปรัชญาจีนมองว่า ก่อนจะเกิดสรรพสิ่งขึ้นนั้น จักรวาลเป็นความว่างเปล่าที่เรียกว่า สภาวะ อู๋จี๋ (Ou Chi) และสิ่งที่เกิดตามมาหลังความว่างเปล่ามาเป็นจักรวาลที่เต็มไปด้วยสรรพสิ่งเรียกว่า ไท่จี๋ (Tai Chi)

               ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน  ก็เหมือนกับลักษณะทวิลักษณ์ หรือ หยิน และ หยาง ของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะในการต่อสู้ป้องกันตัวนั้น เกิดลักษณะสองลักษณะตรงกันข้ามกัน แต่มีความสัมพันธ์ผูกพันกัน คือ มีรุกมีรับ มีอ่อนมีแข็ง ใช้พลังชัดเจน และใช้พลังแฝง เป็นต้น

               ฉะนั้นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน จึงได้จัดแบ่งพลังทั้ง 7 เปรียบเทียบกับ ธาตุทั้ง 5 เป็นทวิลักษณ์ หรือ หยิน และ หยาง ดังนี้

     ๐ อิ้งลี่ (พลังธรรมดา Normal power)
ธาตุดิน คือ พลังหยาง
     ๐ เฉินลี่ (พลังโน้มถ่วง Gravity power)
ธาตุน้ำ คือ พลังหยิน
     ๐ ฉี้ลี่ (พลังลมปราณ Respiration power)
ธาตุไฟ คือ พลังหยาง
     ๐ อี้ลี่ (พลังสมาธิจิต Mind power)
ธาตุทอง คือ พลังหยิน
     ๐ เสวียนลี่ (พลังอัตราความเร็ว Velocity power)
ธาตุลม คือ พลังหยาง
     ๐ไต้ลี่ (พลังเหนี่ยวนำ Inducement power)
ธาตุลม คือ พลังหยิน
     ๐ ถันลี่ (พลังสะท้อน Rebound power)
ธาตุไม้ คือ พลังหยิน และพลังหยาง

               ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่า ถันลี่ หรือ พลังสะท้อน ธาตุไม้ เป็นได้ทั้ง พลังหยิน และ พลังหยาง ส่วนธาตุลม หรือ อากาศธาตุ เป็นธาตุที่ได้เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากธาตุทั้ง 5 ในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน นั้น ธาตุลม หรือ อากาศธาตุมีความสำคัญไม่น้อย เพราะเป็นธาตุที่เข้าได้กับทุกธาตุ และ ช่วยเสริมให้กับทุกธาตุ และยังเป็นได้ทั้ง พลังหยิน และ พลังหยางเหมือนกับธาตุไม้อีกด้วย


                                     
                                         ภาพแผนภูมิ  

                 จากภาพแผนภูมิ เส้นแบ่งครึ่งจาก ถันลี่ พลังสะท้อน ธาตุไม้ลงมา ด้านขวามือเป็น หยาง ส่วนด้านซ้ายมือเป็น หยิน ช่องว่างในวงกลมและรูปดาวเป็นอากาศธาตุ หรือ ธาตุลม ซึ่งแบ่งเป็น หยิน และหยางเช่นกัน คือ ลมด้าน หยิน เป็นลมพลังเย็น ไต้ลี่ หรือ พลังเหนี่ยวนำ ลมด้าน หยาง เป็นลมพลังร้อน เสวียนลี่ หรือ พลังอัตราความเร็ว

                 ฉี้ลี่ พลังลมปราณ ธาตุไฟ เป็นพลังหยางที่แฝงด้วยความเร่าร้อน รุนแรง โหดเหี้ยม หากขาดการควบคุมจาก อี้ลี่ พลังสมาธิจิตแล้ว ก็คือ พลังที่บ้าคลั่งขาดสติ โหดเหี้ยมรุนแรง บ้าบิ่น เกรี้ยวกราดอย่างไร้เหตุผล

                 อิ้งลี่ พลังธรรมดา ธาตุดิน เป็นพลังหยาง ซึ่งเป็นพลังที่ใช้กันอยู่ปกติในชีวิตประจำวัน พลังนี้จะมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สุขภาพที่ดี การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือ การฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน ให้ได้ท่าร่างที่ถูกต้อง (ท่าร่าง หมายถึง ท่าทางของศิลปะการต่อสู้ หรือ ท่ามวย) แม้แต่การรับประทานอาหารให้พอเหมาะพอควร เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยพื้นฐานของพลัง อิ้งลี่ หรือ พลังธรรมดาทั้งสิ้น พลังอิ้งลี่นี้เป็นพลังที่สำคัญที่สุดเพราะถ้าหาก พลังอิ้งลี่ไม่ดีแล้ว นั่นหมายถึง สุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีพละกำลัง หรือ การฝึกฝนท่าร่างของศิลปะการต่อสู้อย่างผิดๆ พลังธาตุต่างๆก็ไม่สามารถที่จะกำเนิดขึ้นได้

                เสวียนลี่ พลังอัตราความเร็ว ธาตุลม หรือ อากาศธาตุ เป็นพลังหยาง ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง และ ฉับพลัน เกิดจากการฝึกฝนจนชำนาญกลายเป็นสัญชาติญาณ

                 ถันลี่ พลังสะท้อน ธาตุไม้ เป็นทั้งพลัง หยิน และ หยาง เป็นพละกำลังที่แข็งแกร่งยืดหยุ่นไม่เปราะหักง่าย เปรียบเหมือนไม้ หรือ ยางรถยนต์ ซึ่งมีพลังสะท้อนกลับ (Rebound หรือ Reflect) เกิดจากการเริ่มต้นธาตุดินที่ดี ฝึกฝนร่างกาย กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น จนเกิดความแข็งแกร่ง มีพลังยืดหยุ่นสะท้อนกลับได้ดี ประสาทกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น สามารถตอบสนองได้อย่างฉับพลัน

                 เฉินลี่ พลังโน้มถ่วง ธาตุน้ำ เป็นพลังหยิน เป็นพลังที่มีความหนักหน่วง หนักแน่น เปรียบเหมือนน้ำที่เทลงมาจากที่สูง พลังนี้ คือ แรงโน้มถ่วง ที่เกิดจากการฝึกฝนเสริมสร้างมวลพละกำลัง และการกำหนดสมาธิจิต โดยการมองผ่านอย่างทะลุทะลวงด้วยจิตที่มีสมาธิ เป็นการส่งแนววิถีของพลังให้ไปสู่เป้าหมายที่ซึ่งจิตได้กำหนดไว้

                ไต้ลี่ พลังเหนี่ยวนำ ธาตุลม เป็นพลังหยิน เกิดจากการเกาะติดแนวแรงอย่างต่อเนื่อง และ คล้อยตามเหนี่ยวนำแนวแรงนั้นให้สู่เป้าหมายที่จิตเรากำหนด การใช้พลังใต้ลี่ให้ได้ผลนั้นจะต้องฝึกฝนให้รู้จักการสัมผัสแนวแรง หรือ วิถีของแรงอย่างต่อเนื่อง

                อี้ลี่ พลังสมาธิจิต ธาตุทอง เป็นพลังหยิน เกิดจากการกำหนดจิตเพื่อรวบรวมเอาพลังอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ รวมพลังทั้งหมดดังได้กล่าวมาข้างต้น หรือใช้สมาธิจิตในการจินตนาการถึงลักษณะของแรงต่างๆ แล้วนำแรงนั้นมาใช้


                จากบทความ และ ภาพแผนภูมิ ดังกล่าว บ่งบอกให้ทราบว่า ลักษณะทวิลักษณ์ หรือ หยิน และหยาง ในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน นั้น พลังหยิน คือ พลังที่ไม่เห็นเด่นชัด พลังหยาง คือ พลังที่เห็นเด่นชัด อีกทั้งการทำความเข้าใจ และ ฝึกฝนได้ง่ายกว่า พลังหยิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น