โพสต์แนะนำ

สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา เลข 7

ปริศนาเลข 7   สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา  เลข  7 สิ่งที่ ธรรมชาติสร้าง มาล้วนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เลข 7 ในหลากหลายความเชื่อ ในหลายๆศาส...

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วัน ทั้ง 7


วัน ทั้ง 7 
ตามความเชื่อ ต่างๆ

 

ในศาสนายูดายและวัฒนธรรมคริสต์ วันแรกของวันทั้งเจ็ดได้แก่ วันอาทิตย์ ตามพระคัมภีร์ไบเบิล พระเจ้าได้สร้างโลกในเวลาหกวัน และพักผ่อนในวันที่เจ็ด วันแซบเบท วันเสาร์ นี่ทำให้วันอาทิตย์กลายเป็นวันแรกของสัปดาห์ ในขณะที่วันเสาร์เป็นวันสำหรับเฉลิมฉลองและพักผ่อน วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์ แต่ว่าถูกแทนที่โดยวันแห่งการเฉลิมฉลองและการพักผ่อน เรียกว่า "วันแห่งพระเจ้า" ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้วันอาทิตย์ถูกมองว่าเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์
นอกจากนั้น ยังมีความแตกต่างกันของหลักฐานเกี่ยวกับการบันทึกเรื่องของวันในภาษาต่างๆ - เช่น ในภาษาฮีบรู อารบิก กรีก ละตินคาทอลิก และโปรตุเกส บางภาษาได้เรียกวันเป็นตัวเลขเรียงตามลำดับของวัน และเรียกวันอาทิตย์ว่าเป็นวันที่หนึ่ง ส่วนในภาษาอื่นๆ เช่น กลุ่มภาษาสลาฟ ก็เรียกว่าวันเป็นตัว้ลขเช่นกัน แต่ว่าใช้วันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ และการเรียกวันในกลุ่มภาษาสลาฟไม่ได้เรียงตามลำดับวันในสัปดาห์ แต่เรียงตามระยะห่างจากวันอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้ วันพุธ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วันกลางสัปดาห์"
ในยุโรปส่วนใหญ่ปัจจุบันนี้ และบางประเทศอื่นๆ วันจันทร์ได้กลายเป็นวันแรกของสัปดาห์ และถูกตั้งชื่อในภาษาต่างๆ เช่น 星期一 (แปลว่า ช่วงดาวหนึ่ง) ในภาษาจีนกลาง และ pirmadienis ในภาษาลิธัวเนีย ข้อตกลง ISO ได้กำหนดว่าวันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ เช่นเดียวกับ ISO-8601 สำหรับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

ในอารยธรรมฮินดู ก็ได้มีการใช้วันทั้งเจ็ดจากเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเขียนเป็นภาษาสันสกฤตราว 500 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้คำว่า Bhanu-vaar หมายถึง วันอาทิตย์ Soma-vaar หมายถึง วันจันทร์ และต่อๆ ไป
การอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบอยู่ในงานเขียนของจีน ซึ่งถูกระบุว่าเป็นของ ฟาน หนิง มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ส่วนในประเทศอินเดียนั้นก็มีการบันทึกเกี่ยวกับงานเขียนของพระสงฆ์จีนชื่ออี ชิง และพระสงฆ์จากเกะลังกาชื่อบู คง ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 การถ่ายตัวอักษรจีนเรื่องระบบดาวเคราะห์นั้นภายหลังได้ถูกนำไปสู่ดินแดนญึ่ปุ่นโดยพระสงฆ์ชาวญี่ปุ่น โคโบ ไดชิ

วันทั้งเจ็ดนั้นได้ถูกใช้มาแล้วเป็นเวลากว่าสองสหัสวรรษ และมีทั้ง ปฏิทินอเล็กซานเดรียน ปฏิทินจูเลียนและปฏิทินเกรโกเรียน

ความเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1-3 ของจักรวรรดิโรมัน นั้นได้คอ่ยๆ เปลี่ยนปฏิทินโรมันแบบสัปดาห์ละแปดวันลดลงเหลือเพียงเจ็ดวัน โดยผู้ที่อธิบายถึงการเรียงลำดับของวันนี้ คือ เวตติอุส วาเลนส์กับไดโอ แคสซุส ตามที่ทั้งสองเขียนเอาไว้ มันคือหลักทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสวรรค์ (วัตถุบนฟากฟ้า) และแนวคิดนี้ก็ได้ส่งต่อสืบกันมา ระบบพโตเลมีได้ยืนยันถึงการเรียงลำดับวัตถุบนฟากฟ้า (ลำตัวของสวรรค์) จากไกลที่สุดมาหาใกล้ที่สุดไว้ดังนี้: ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคารดวงอาทิตย์ ดาวพุธและดวงจันทร์ (เป็นแนวคิดของลัทธิสโตอิกของกรีกในสมัยโบราณ)
ตามทฤษฎีดาราศาสตร์ ไม่เพียงแค่วันในสัปดาห์เท่านั้น แต่ว่ายังมีอิทธิพลกับแต่ละชั่วโมงของวันอีกด้วย ถ้าหากในชั่วโมงแรกของวันนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวเสาร์ (Saturn) ชั่วโมงที่สองของวันก็จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ชั่วโมงที่สาม ก็จะเป็นดาวอังคาร (Mars) และต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นทุกๆ เจ็ดชั่วโมง ดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดดวงจะหมุนเวียนกันไป นอกเหนือจากนี้ ในชั่วโมงที่ยี่สิบห้า ซึ่งก็คือชั่วโมงแรกของวัดถัดไป จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงอาทิตย์ และชั่วโมงที่สี่สิบเก้า คือ วันแรกของอีกสองวันข้างหน้า จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงจันทร์

ชื่อของวันทั้งเจ็ด

ชื่อภาษาอังกฤษของวันทั้งเจ็ดได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากภาษาเยอรมัน และบางส่วนก็มาจากภาษาโรมัน
  • วันอาทิตย์ คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Sunnandæg (ออกเสียงว่า Sun-nan-dag หรือ Sun-nan-dye "dye" เหมือนในคำภาษาอังกฤษใหม่) หมายถึง "วันแห่งดวงอาทิตย์" ซึ่งเป็นการแปลมาจากภาษาลาตินว่า Dies Solis ภาษายุโรปอีกจำนวนมาก รวมไปถึงภาษาซึ่งดัดแปลงมาจากภาษาโรมัน ได้เรียกชื่อวันอาทิตย์ว่า "วันแห่งพระเจ้า" (Dies Dominica ในภาษา Ecclesiastical Latin และ Domingo ในภาษาสเปน) ทุกวันอาทตย์ชาวคริสต์ต้องไปที่โบสถ์เพื่อประกอบพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนา
  • วันจันทร์ คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Mōnandæg (ออกเสียงว่า Moh-nan-dag หรือ Moh-nan-dye) หมายถึง "วันแห่งดวงจันทร์" นี่เหมือนกับว่าแปลมาจากชื่อภาษาลาตินว่า Dies Lunae
  • วันอังคาร คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Tiwesdæg (ออกเสียงว่า Tee-wes-dag หรือ Tee-wes-dye) หมายถึง "วันแห่ง Tyr (ชื่อของสัตว์ในเทพนิยายโรมันแบบหนึ่ง)" ชื่อของวันดังกล่าวมาจากคำภาษาลาตินว่า Dies Martis (วันแห่งมาร์ส) ภาษาฝรั่งเศสว่า Mardi ภาษาสเปนว่า Martes
  • วันพุธ คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Wōdnesdæg (ออกเสียงว่า wohd-nes-dag หรือ wohd-nes-dye) หมายถึง "วันของ Woden" (Wodan) ชื่อขจองเทพเจ้าเยอรมันองค์หนึ่ง ซึ่งถูกรู้จักกันโดยสามัญว่า โอดิน เทพบิดรแห่งเทพนิยายนอร์ส และเทพชั้นรองของ ชาวแองโกล-แซกซอน (และอื่นๆ) ในดินแดนอังกฤษจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 มันมาจากภาษาลาตินว่า Dies Mercurii "วันแห่งเมอร์คิวรี่" ภาษาฝรั่งเศสว่า Mercredi ภาษาสเปนว่า Miércoles การเชื่อมโยงกันระหว่างเมอร์คิวรี่และโอดินมีมาก ดังตัวอย่างทั่วไปว่าเทพทั้งสององค์เป็นผู้นำวิญญาณ และทั้งสององค์ยังมีความสามารถที่คล้ายกันอีกหลายประการ และในภาษาเยอรมัน คำมีหมายถึง mittwoch
  • วันพฤหัสบดี คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Þūnresdæg (ออกเสียงว่า thoon-res-dag หรือ thoon-res-dye) หมายถึง "วันแห่ง Þunor" ซึ่งถูกรู้จักกันโดยสามัญว่าธอร์ ซึ่งเป็นเทพแห่งสายฟ้าตามความเชื่อของนอร์ส มาจากคำภาษาลาตินว่า Dies Iovis "วันแห่งจูปิเตอร์" ภาษาฝรั่งเศสว่า Jeudi ภาษาสเปนว่า Jueves ตามความเชื่อของชาวโรมัน จูปิเตอร์ถือได้ว่าเป็นเทพสูงสุด ผู้มีพลังอำนาจแห่งฟ้าผ่า
  • วันศุกร์ คำภาษาอังกฤษเดิมว่า Frigedæg (ออกเสียงว่า free-ye-dag หรือ free-ye-dye) หมายถึง "วันแห่ง Frige" ชื่อของเทพีแห่งความงามของชาวเยอรมัน ซึ่งภายหลัง Frigg มาจากภาษาลาตินว่า Dies Veneris "วันแห่งเทพีวีนัส" ภาษาฝรั้งเศสว่า Vendredi ภาษาสเปนว่า Viernes (เทพีโรมันแห่งความงาม ความรักและเพศ)
  • วันเสาร์ คำภาษาอังกฤษได้ชื่อมากจากเทพโรมัน แซทเทิร์น พระบิดาของ ซุส และเหล่าเทพแห่งโอลิมปัสเป็นจำนวนมาก ส่วนภาษาแองโกล-แซกซอนเดิมว่า Sæturnesdæg (ออกเสียงว่า Sat-urn-es-dag หรือ Sat-urn-es-dye) ภาษาลาตินว่า Dies Saturni "วันแห่งแซทเทิร์น" ภาษาฝรั่งเศสว่า Samedi ภาษาสเปนว่า Sábado ซึ่งมาจาก Sambata Dies "วันแห่งแซบเบท"

ยังมีความเชื่อมโยงระหว่างวันทั้ง 7 บาปทั้ง 7 บุคลิกคนทั้ง 7 ประเภท ติดตามต่อไป ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น