โพสต์แนะนำ

สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา เลข 7

ปริศนาเลข 7   สิ่งลี้ลับ ที่เป็นปริศนา  เลข  7 สิ่งที่ ธรรมชาติสร้าง มาล้วนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เลข 7 ในหลากหลายความเชื่อ ในหลายๆศาส...

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปริศนาเลข 7 กลุ่มดาวฤกษ์ 7 กลุ่ม

ปริศนาเลข 7  กลุ่มดาวฤกษ์ 7 กลุ่ม

1.กลุ่มดาวนายพราน






             กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียงโด่งดังสะท้านเอกภพอีกกลุ่มดาวหนึ่งในฤดูหนาวเพราะสามารถมองเห็นได้ยาวนาน และสังเกตหาง่าย สำหรับคนไทยเรียกกลุ่มดาวนายพรานว่า ดาวเต่า ข้างในดาวเต่ามี ดาวไถ อีกที เนื่องจากกลุ่มดาวนายพราน หรือ Orion ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนทั้งหมด 8 ดวง โดยมีดวงสำคัญ 4 ดวง ตั้งเรียงกันเป็นขาเต่าหน้าหลัง







                   กลุ่มดาวนายพรานมีดาว 2 ดวงที่เป็นดาวฤกษ์สว่างมาก ก็คือดาว บีเทลจุส (Betelgeuse) อยู่ตรงส่วนของไล่ขวานายพรานเป็นดาวยักษ์แดง สีออกแดงๆส้มๆ และอีกดวงก็คือดาว ไรเจล (Rigel) ตรงเข่าซ้ายนายพราน(หรือเท้าซ้าย) ดาบนายพรานคือดวงดาวที่เรียงตัวในแนวดิ่ง ใต้ดาวสามดวงในแนวเกือบจะเป็นแนวนอนก็คือ "เข็มขัดนายพราน" นั่นเอง กลุ่มดาวนายพรานจะเริ่มโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่เวลาประมาณหนึ่งทุ่ม ทางทิศตะวันออกโดยจะขึ้นแบบตะแคงข้าง ส่วนเวลาตกก็ประมาณตีห้า ทางทิศตะวันตกค่อนไปทางใต้เล็กน้อย 


2.กลุ่มดาวไถ







             กลุ่มดาวดาวไถ จะมองเห็นชัดในฤดูหนาวเป็นดวงดาวสามดวงเรียงกัน ถือว่าเป็นกลุ่มดาวที่ดูได้ง่ายในฤดูหนาวจะเห็นได้ชัดกลุ่มดาวไถมีประโยชน์ในการค้นหาดาวอื่น ๆ ซึ่งดาวไถจะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 800 - 1400 ปีแสง และเป็นแหล่งที่มีดาวดวงใหม่เกิดขึ้นมากที่สุดที่ตรงใจกลางดาวไถมีดวงดาวอยู่ถึง 110 ดวง คนไทยมองเห็นเป็นลักษณะเหมือนคันไถจึงเรียกว่า ดาวไถ ซึ่งกลุ่มดาวไถนี้มีกลุ่มดาวนายพราน (กลุ่มดาวเต่า) ล้อมรอบ โดยที่ดาวไถเป็นเข็มขัดของนายพรานนั่นเอง

3.กลุ่มดาวหมีใหญ่









           กลุ่มดาวที่มนุษย์รู้จักดีที่สุด และใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดก็คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่หรือกลุ่มดาวจระเข้ เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวสำคัญ ช่วยชี้หาดาวเหนือที่สว่างโดเด่นได้โดยไล่จากขาหน้าขวา ไปทางขาหน้าซ้าย เลยออกไปอีกประมาณ 5 ช่วง กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่ี่มองเห็นได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับดาวเหนือ แต่ในทางกลับกันเนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มากๆ จะเห็นได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบนทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลก





              ดาวกลุ่มนี้มี 7 ดวง มีลักษณะคล้ายกระบวยตักน้ำ 4 ดวงเป็นตัวกระบวย อีก 3 ดวง เป็นด้าน ชาวจีนและชาวยุโรปเขาเห็นเป็นรูปกระบวย จึงเรียกกลุ่มดาวกลุ่มนี้ว่า กระบวยใหญ่” (Big Dipper) ชาวกรีกซึ่งเป็นดินแดนแห่งเทพนิยายอันเกี่ยวกับ ดวงดาวต่าง ๆ เห็นเป็น หมีใหญ่” (Ursa Major) คนไทยเห็นเป็น จระเข้ทั้งกรีกและไทย เห็นเหมือนกันอยู่ 1 อย่างคือ เห็นดาว 3 ดวง ทางด้ามกระบวยเป็นหางหมี และหางจระเข้เหมือนกัน


4.กลุ่มดาวหมีเล็ก








                 กลุ่มดาวในดวงใจของนักเดินทาง ตำนานแห่งการเดินทางจากอดีตสู่ปัจจุบัน ที่นอกเหนือจากเข็มทิศที่ใช้ในการนำทางแล้ว ยังได้อาศัยดวงดาวเพื่อนำพาไปสู่จุดหมายปลายทาง Ursa Minor กลุ่มดาวหมีเล็ก ซึ่งดาวที่เป็นส่วนหางของดาวหมีเล็กก็คือ "ดาวเหนือ" นั่นเอง ซึ่งเป็นดาวที่มีประโยชน์มากสำหรับนักเดินเรือ ดาวที่ท้องของหมีเล็กทั้ง 4 ดวง จะมีแสงสว่างขนาด 2,3,4 และ 5 แมกนิจูดตามลำดับ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการช่วยให้เราสามารถวัดขนาดความสว่าง ของดาวข้างเคียงได้ เราสามารถมองเห็นกลุ่มดาวหมีเล็กได้ในช่วงเวลาประมาณ 21.00 น

5.กลุ่มดาวค้างคาว




                  กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตและจดจำได้ง่าย เพราะประกอบด้วยดาวฤกษ์สว่าง 5 ดวง เรียงตัวกันเป็นรูปตัวเอ็ม (M) คนไทยจะเห็นเป็นรูปค้างคาว จึงเรียกชื่อกลุ่มดาวนี้ว่า "กลุ่มดาวค้างคาว" ส่วนชาวโบราณจะเห็นเป็นรูปเก้าอี้ ที่ราชินีแคสสิโอเปียทรงประทับอยู่ กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย จะเคลื่อนที่รอบดาวเหนือ (Polaris) โดยอยู่ห่างจากดาวเหนือ ประมาณ 30 องศา และอยู่ทิศตรงข้ามกับกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) เสมอ กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย จะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ประมาณเที่ยงคืนของกลางเดือนพฤศจิกายน



                     - Schedar, 2.23, Yellow ดาวเชดดาร์ เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง ในระบบดาวคู่ มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 2.23 ส่วนดาวคู่ มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 8.9 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 228 ปีแสง ชื่อดาว หมายถึง "หน้าอก" (Breast)
                    - Caph, 2.3, White ดาวชาฟ เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน-ขาว เป็นดาวแปรแสง มีความสว่างปรากฏระหว่าง 2.25-2.31 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 54 ปีแสง
                     - Cih, 2.5, Blue-white ดาวซิห์ เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน เป็นดาวแปรแสง มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 1.6-3.0 เป็นดาวคู่ โดยที่อีกดวง มีความสว่างปรากฏ ประมาณ 8.8 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 613 ปีแสง - Ruchbah, 2.7 ดาวรุคบาห์ มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 2.7 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 99 ปีแสง
                    - Segin, 3.38 ดาวเซกิน มีความสว่างปรากฏเท่ากับ 3.38 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 442 ปีแสง

6.กลุ่มดาวม้าปีก






              
  ม้าปีก เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตเห็นและจำได้ง่าย เพราะมีดาวฤกษ์สุกสว่าง 4 ดวง ที่มีความสว่างใกล้เคียงกัน เรียงกันเป็นรูป 4 เหลี่ยมจตุรัส เรียกว่า "The Great Square" โดยดวงหนึ่งในสี่ดวง เป็นดาวที่ต่อระหว่างกลุ่มดาวม้าปีก และกลุ่มดาวแอนโดรเมดา (Andromeda) นอกจากนี้ กลุ่มดาวม้าปีกยังใช้ในการหากลุ่มดาวอื่นๆได้ โดยจะขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ประมาณเที่ยงคืนของเดือนกันยายน

7.กลุ่มดาวลูกไก่





                กลุ่มดาวลูกไก่ หรือ กลุ่มดาวไพลยาดีส หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด   นับเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า จึง เป็นกลุ่มดาวที่ใช้ทดสอบสายตาของคนได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าคนทั่วไปจะเห็นเพียง 6 ดวง แต่ถ้าผู้ชำนาญดูบ่อย ๆ นับดูจะได้ 7 ดวง แต่ทว่าดาวกลุ่มนี้ตามความเป็นจริงไม่ได้มีแต่เพียง 7 ดวง แต่มีหลายร้อยดวงเป็น กระจุกดาวถ้ามีกล้อง 2 ตาหรือกล้องโทรทรรศน์ส่องดูดวงกลุ่มนี้ จะเห็นเป็น กระจุกดาวที่สวยงามที่สุดในท้องฟ้ากลุ่มหนึ่ง

    
        กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง


เรื่องเล่าในตำนานและวัฒนธรรมพื้นบ้าน


ที่มา  http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=juo5_kKY4XI

                ดาวลูกไก่ที่ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ทั้ง 7 ดวงนั้น ตามตำนานกรีกเล่าว่าดาวเหล่านี้เป็นตัวแทนของหญิงสาวเจ็ดพี่น้องแห่งไพลยาดีส ในขณะที่ตำนานชาวไวกิงบอกว่าดาวเหล่านั้นคือแม่ไก่ทั้งเจ็ดตัวของเฟรย์ยา ซึ่งคล้ายคลึงกับตำนานของไทย

                 ในยุคสำริดของยุโรป ชาวยุโรปบางส่วน เช่นชาวเคลต์หรือวัฒนธรรมอื่นก่อนหน้านั้น เชื่อว่ากลุ่มดาวนี้เกี่ยวข้องกับความอาลัยและงานศพ ในอดีตจะมีงานเทศกาลช่วงวันระหว่างวันศารทวิษุวัตจนถึงวันเหมายัน (ดู วันฮัลโลวีน หรือวันแห่งจิตวิญญาณ) เป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ กระจุกดาวนี้จะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าด้านตะวันออกหลังจากตะวันลับขอบฟ้า เหตุนี้กลุ่มดาวลูกไก่จึงมักให้ความรู้สึกถึงน้ำตาและความเศร้าโศก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น